บทที่ 1 การศึกษาความเป็นมาของท้องถิ่น




บทที่ 1 การศึกษาความเป็นมาของท้องถิ่น


   

        การใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ศึกษาประวัติความเป็นมาของท้องถิ่น





           วิธีการทางประวัติศาสตร์ หมายถึง กระบวนการในการแสวงหาข้อเท็จทางประวัติศาสตร์ โดย
อาศัยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีอยู่ รวบรวมเรียบเรียงเพื่ออธิบายและวิเคราะห์เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นให้ถูกต้อง มีเหตุผล ดังนั้นวิธีการทางประวัติศาสตร์จึงมีความสำคัญต่อการศึกษาประวัติศาสตร์อย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นวิธีการที่ผู้ศึกษาจะได้ตรวจสอบหลักฐานว่าถูกต้อง น่าเชื่อถือ แล้วนำมาเรียบเรียงด้วยความเป็นกลาง ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่เขียนตามหลักฐานข้อมูลที่มีอยู่ และต้องไม่ตัดสินเหตุการณ์ในอดีตด้วยความคิดปัจจุบัน เพราะช่วงสมัยที่แตกต่างกันย่อมมีสภาพแวดล้อมและความคิดไม่เหมือนกัน
    เราสามารถศึกษาประวัติความเป็นมาของท้องถิ่นตนเองได้ โดยวิธีการทางประวัติศาสตร์ในการศึกษา ดังนี้ 
     1. กำหนดเรื่องที่จะศึกษา เป็นขั้นตอนแรกของวิธีการศึกษาหาความรู้ โดยตั้งประเด็นคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่จะศึกษา
        ตัวอย่าง ประเด็นการศึกษาเกี่ยวกับภูมิภาคอาจเป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัว และขยายขอบเขตการศึกษาออกไปเป็นระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับภูมิภาค เช่น
  •  ประวัติวัดสำคัญในชุมชน / อำเภอ / จังหวัด / ภูมิภาค
  •  สถานที่สำคัญในท้องถิ่น / จังหวัด / ภูมิภาค
  •  บุคคลสำคัญในท้องถิ่น / จังหวัด / ภูมิภาค


     2. ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล เมื่อมีประเด็นที่จะศึกษาแล้ว ขั้นต่อมาคือ การค้นคว้าและรวบรวมหลักฐานข้อมูล ทั้งที่เป็นหลักฐานชั้นต้นและหลักฐานชั้นรอง หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรและหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
     - หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นหลักฐานข้อมูลที่เป็นตัวหนังสือ ได้แก่ จารึก พงศาวดาร จดหมายเหตุ หนังสือพิมพ์ จดหมาย บันทึก เอกสารทางราชการ เป็นต้น




รูป หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร


รูป หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร
    
       - หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นหลักฐานข้อมูลที่ไม่เป็นตัวหนังสือ ได้แก่ เครื่องมือเครื่องใช้ของคนในสมัยต่าง ๆ วัด เจดีย์ อนุสาวรีย์ เครื่องประดับ อาคารบ้านเรือน เครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น
รูป หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

รูป หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
    3. ตรวจสอบหลักฐาน  ขั้นตอนนี้คือ การตรวจสอบข้อมูลหลักฐานที่เรารวบรวมมาว่ามีความถูกต้องน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด วิธีการตรวจสอบหลักฐาน ได้แก่ เปรียบเทียบจากข้อมูลหลาย ๆ ฉบับว่าเหมือนหรือ ต่างกันอย่างไร พิจารณาจากหลักฐานที่มีอยู่หรือว่าหลักฐานดังกล่าวผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญมาแล้ว
   4. การเลือกและจัดลำดับข้อมูล เมื่อรวบรวมและตรวจสอบความถูกต้องความน่าเชื่อถือแล้ว นักเรียนต้องนำข้อมูลมาแยกประเภทโดยเรียงเหตุการณ์ตามลำดับเวลาก่อนหลัง จัดเหตุการณ์เรื่องเดียวกันหรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกันไว้ด้วยกันเพื่อความสะดวกในการเรียบเรียงและนำเสนอข้อมูล
   5. การนำเสนอ เป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ โดยผู้ศึกษาต้องนำข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบและเลือกสรรแล้ว มาเรียบเรียงเพื่อตอบคำถามหรืออธิบายข้อสงสัยตามประเด็นที่ต้องการศึกษาโดยใช้หลักฐานข้อมูลต่าง ๆ มาอ้างอิงอย่างเป็นเหตุเป็นผล การนำเสนอมีหลายวิธี เช่น การเขียนเรียงความ รายงาน จัดนิทรรศการ เป็นต้น







                                                                                                                กลับสู่หน้าสารบัญ




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทที่ 2 เหตุการณ์สำคัญในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สนธิสัญญาเบาริ่ง

บทที่ 2 พุทธประวัติ ป.6

สารบัญ วิชาประวัติศาสตร์ ป.5 ครูสุทธิดา แสงทัศน์