บทที่ 1 เหตุการณ์สำคัญในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สนธิสัญญาเบอร์นี่


สนธิสัญญาเบอร์นี
        รัฐบาลสยาม ลงนามใน สนธิสัญญาเบอร์นี (Burney Treaty) กับอังกฤษ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2369 นับเป็นสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีและการพาณิชย์ฉบับแรกที่สยามได้ทำกับประเทศตะวันตก ในสมัยรัตนโกสินทร์

          ทั้งนี้ ร้อยเอกเฮนรี เบอร์นี (Henry Burney) ทูตของอังกฤษ เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับสยาม ในปี 2368 ตรงกับรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โดยมีความประสงที่จะขอเปิดสัมพันธไมตรีกับสยาม และขอความสะดวกในการค้าได้โดยเสรี เขาต้องใช้เวลาถึง 5 เดือนจึงสามารถทำสนธิสัญญากับสยามได้สำเร็จ โดยจัดทำขึ้น 4 ภาษาได้แก่ ไทย อังกฤษ โปรตุเกส และมลายู    สนธิสัญญาเบอร์นีมีสาระสำคัญได้แก่ อนุญาตให้พ่อค้าสยามทำการค้ากับพ่อค้าอังกฤษได้อย่างเสรี รัฐบาลสยามจะเก็บภาษีจากพ่อค้า อังกฤษตามความกว้างของปากเรือ เจ้าพนักงานสยามมีสิทธิ์ลงไปตรวจสอบสินค้าของพ่อค้าชาวอังกฤษ และชาวอังกฤษที่เข้ามาค้าขาย ในประเทศสยาม จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายสยามทุกประการ
              การทำสนธิสัญญาเบอร์นีก่อให้เกิดการขยายตัวด้านการค้าต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ที่สำคัญในโครงสร้างเศรษฐกิจสยาม 2 ประการคือ ทำให้รัฐต้องปรับวิธีการหารายได้  และเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ในรูปภาษีมากขึ้น และก่อให้เกิดการผลิตเพื่อการค้าส่งออกเพิ่มขึ้น
          ในปลายสมัยรัชกาลที่ 3 รัฐได้หันกลับมาใช้นโยบายการค้าผูกขาดอีกครั้ง ซึ่งถือเป็นการละเมิดข้อตกลงในสนธิสัญญาเบอร์นี ก่อให้เกิดปัญหาทางการค้าระหว่างสยามกับอังกฤษ นำไปสู่การทำ สนธิสัญญาเบาริง (Bowring treaty) ในปี 2398 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งสยามต้องยอมรับระบบการค้าเสรีของอังกฤษในที่สุด

            

             


























                                                                                               
                                                                        กลับหน้าสารบัญ






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทที่ 2 เหตุการณ์สำคัญในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สนธิสัญญาเบาริ่ง

บทที่ 2 พุทธประวัติ ป.6

สารบัญ วิชาประวัติศาสตร์ ป.5 ครูสุทธิดา แสงทัศน์