บทที่ 2 อารยธรรมภายนอกที่มีอิทธิพลต่อไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้



บทที่ 2   อารยธรรมภายนอกที่มีอิทธิพลต่อไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การเข้ามาของอารยธรรมอินเดียและจีนในดินแดนไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    ดินแดนไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ครั้งอดีต ผู้คนในดินแดนบริเวณแถบนี้ได้มีการติดต่อชาวจีนและอินเดียมานานแล้ว ทำให้ได้รับอารยธรรมของจีนและอินเดียมาตั้งแต่ครั้งอดีตส่งผลมาถึงปัจจุบัน อารยธรรมบางอย่างนำมาใช้โดยตรง เช่น ภาษา ศาสนา อาหารบางอย่างปรับเปลี่ยนให้กับวัฒนธรรมเดิม เช่น วัฒนธรรมการดำรงชีวิต รูปแบบงานศิลปะ
    อารยธรรมอินเดียและจีนได้มาในดินแดนไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายปัจจัยด้วยกัน ดังนี้
    1. การติดต่อค้าขาย พ่อค้าชาวจีนและชาวอินเดียได้นำสินค้ามาขายในดินแดนไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และได้นำวัฒนธรรมของตนเข้ามาเผยแพร่ เช่น วัฒนธรรมด้านภาษา การแต่งกาย อาหารการกิน เป็นต้น   
สินค้าที่พ่อค้าชาวจีนนำมาขาย เช่น ใบชา ผ้าไหม กระดาษ เป็นต้น ส่วนสินค้าที่พ่อค้าชาวอินเดียนำมาขาย เช่น พรม ผ้า หินสี เครื่องเทศ เป็นต้น
    2. การเผยแผ่ศาสนา บริเวณภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ได้รับพระพุทธศาสนาจากอินเดียและศรีลังกา ได้รับศาสนาพราหมณ์ – ฮินดูจากอินเดีย ได้รับศาสนาอิสลามจากพ่อค้ามุสลิม ได้รับพระพุทธศาสนานิกายมหายานจากจีน

    3. การติดต่อทางการทูต ทูตชาวจีนได้เดินทางมายังดินแดนไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อติดต่อสัมพันธ์กับผู้คนในภูมิภาคนี้ จึงทำให้เกิดการถ่ายทอดวัฒนธรรมให้แก่กันและกัน
    4. การเข้ามารับราชการ ของชาวอินเดีย ชาวจีน และการแต่งงานกับชาวพื้นเมือง ทำให้มีการถ่ายทอดวัฒนธรรมในด้านต่าง ๆ เช่น การแต่งกายแบบจีน การพูดภาษาจีน การรับเอางานศิลปะในพระพุทธศาสนาจากอินเดีย เช่น เจดีย์ทรงลังกา พระพุทธรูป การรับเอางานวรรณกรรม เช่น รามเกียรติ์จากอินเดีย และพิธีกรรมต่าง ๆ ที่พราหมณ์จากอินเดียนำมาเผยแพร่


อิทธิพลของอารยธรรมอินเดียและจีนที่มีต่อไทยและคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    อารยธรรมอินเดียและจีนที่มีอิทธิพลต่อไทยและผู้คนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เราสังเกตได้ง่าย เช่น อารยธรรมด้านศาสนาและความเชื่ออารยธรรมด้านภาษา อารยธรรมด้านการแต่งกาย และอารยธรรมด้านอาหาร เป็นต้น

    1. อิทธิพลของอารยธรรมอินเดีย อารยธรรมอินเดียมีผลต่อลักษณะการดำเนินชีวิตของไทยและผู้คนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายด้าน เช่น

       1) ด้านศาสนา ผู้คนพื้นเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับเอาศาสนาพราหมณ์ – ฮินดูและพระพุทธศาสนาที่มีผลต่อการสร้างงานศิลปะที่มีหลักฐานปรากฏอยู่มากมาย เช่น ปราสาทนครวัดนครธมในกัมพูชา เจดีย์ชเวดากองในเมียนมาร์บุโรพุทโธในอินโดนีเชีย
เจดีย์ชเวดากอง ประเทศเมียนมาร์ เป็นสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนา
        สำหรับในดินแดนไทยได้รับศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู และพระพุทธศาสนามาตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น ทวารดี ในสมัยสุโขทัยรับพระพุทธศาสนาจากนครศรีธรรมราชทำให้พระพุทธศาสนาเป็นส่วนสำคัญในวิถีชีวิตของคนไทย

      2) ด้านการเมืองการปกครอง รับความเชื่อเรื่องสมมติเทพและกฎหมายพระมนูธรรมศาสตร์ของอินเดียมาเป็นแม่แบบของกฎหมายในหลายประเทศ เช่น เมียนมาร์ กัมพูชา ไทย
           ในอดีตประเทศไทยมีการปกครองแบบพ่อปกครองลูก การรับศาสนาพราหมณ์ทำให้มีความเชื่อเรื่องกษัตริย์เป็นสมมติเทพตามแนวความเชื่อของอินเดีย ต่อมาได้นำหลักธรรมในพระพุทธศาสนามาผสมผสานเพื่อใช้ในการปกครอง พระมหากษัตริย์จึงเป็นธรรมราชาในเวลาต่อมา





    3) ด้านอักษรศาสตร์ รับภาษาบาลี สันสฤตจากอินเดียมาใช้ ทำให้ประเทศต่าง ๆ ทั้งไทย กัมพูชา อินโดนีเซีย มีภาษาที่มีคำในภาษาบาลี สันสฤต ผสมอยู่มากมาย เช่น ชื่อของคนในประเทศเหล่านี้ รับวรรณคดีอินเดีย เช่น มหากาพย์รามายณะ ซึ่งมีอิทธิพลต่อวรรณคดีของไทย เมียนมาร์ กัมพูชา อินโดนีเซีย รวมถึงวรรณคดีทางพระพุทธศาสนา เช่น ชาดก




    4) ด้านวิถีชีวิต คนไทยและคนที่อยู่ในภูมิเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บางส่วนได้รับวัฒนธรรมการแต่งกายและวัฒนธรรมการกินอาหารจากอารยธรรมอินเดีย เช่น รับประทานอาหารที่มีเครื่องเทศเป็นส่วนผสม ใส่เสื้อผ้าแบบชาวอินเดีย เป็นต้น



    5) ด้านกฎหมาย ได้รับรากฐานกฎหมายจากอินเดีย คือ คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ ซึ่งกลายเป็นหลักของกฎหมายของประเทศต่าง ๆ เช่น เมียนมาร์ กัมพูชา ไทย

    6) ด้านศิลปะวิทยาการ รับรูปแบบสถาปัตยกรรมของพระพุทธศาสนาจากอินเดีย ลังกา เช่น เจดีย์ทรงลังกา พระพุทธรูป

พระปฐมเจดีย์ จ. นครปฐม เป็นสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะลังกา


    

     2. อิทธิพลของอารยธรรมจีน




         
    ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และดินแดนไทยได้รับอารยธรรมจีนมานานแล้ว โดยผ่านทางการค้า 

การเผยแผ่ศาสนา การศึกษา อิทธิพลของอารยธรรมจีนที่มีต่อโลก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีหลาย

ประการ เช่น






         


    อารยธรรมของชาติตะวันตก      





        อารยธรรมของชาติตะวันตกเริ่มเข้ามีบทบาทในไทยสมัยอยุธยาและเริ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยพระบาทสมเด็จนารายณ์มหาราชที่ไทยมีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติเป็นจำนวนมาก ทำให้ได้รับวิทยาการความรู้ใหม่ ๆ จากชาติตะวันตกที่นำเข้ามาเผยแพร่ เช่น การแพทย์ อาวุธยุทโธปกรณ์ การทหาร การศึกษา การก่อสร้าง เป็นต้น

    ครั้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์ อิทธิพลของอารยธรรมของชาติตะวันตก เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา ก็ได้เข้ามามีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมและวัฒนธรรมไทยมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน อาทิ ได้มีการนำอารยธรรมและเทคโนโลยีของชาติตะวันตกมาปรับปรุง
- ระบบการคมนาคมขนส่งและการสื่อสาร เช่น สร้างทางรถไฟ รถยนต์ ทางอากาศ ไปรษณีย์โทรเลข และโทรศัพท์

     - ระบบการศึกษา เช่น จัดให้มีการศึกษาภาคบังคับขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 6
    - ระบบการปกครอง เช่น จัดตั้งกระทรวง ทบวง กรม ขึ้นตามแบบอย่างของชาติตะวันตก ระบบการปกครองแบบราชธิปไตยมาเป็นระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
    - ระบบกฎหมายและการพิพากษาคดีอรรถคดี
    - การเรียนรู้ศิลปวิทยาสมัยใหม่ต่าง ๆ ของชาติตะวันตก
    ในด้านวัฒนธรรมและประเพณี จะเห็นได้ว่าไทยรับเอาอิทธิพลตะวันตกมาปฏิบัติหลายอย่าง เช่น การแต่งกาย การรับประทานอาหาร การรื่นเริงและการพักผ่อนหย่อนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา เมื่อประเทศไทยมีการติดต่อกับนานาชาติอย่างกว้างขวาง การคมนาคมขนส่งก็เป็นไปได้โดยสะดวกรวดเร็ว ไทยได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามาผสมผสานกับวัฒนธรรมไทยอย่างรวดเร็วและมากขึ้นยิ่งกว่าแต่ก่อน
    จะเห็นได้ว่าสังคมไทยเป็นสังคมที่เปิดรับวัฒนธรรมต่างชาติอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมจากอินเดีย จีน และตะวันตก โดยการรับวัฒนธรรมของสังคมไทยจะมีลักษณะนำมาเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนเอง เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของคนไทย






== แบบฝึกหัด เรื่อง  อารยธรรมภายนอกที่มีอิทธิพลต่อไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้==



กลับสู่หน้าสารบัญ

   






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทที่ 2 เหตุการณ์สำคัญในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สนธิสัญญาเบาริ่ง

บทที่ 2 พุทธประวัติ ป.6

สารบัญ วิชาประวัติศาสตร์ ป.5 ครูสุทธิดา แสงทัศน์